ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ความสำเร็จของมิตซูบิชิ มอเตอร์สเกิดจากการเข้าร่วมกิจกรรมมอเตอร์สปอร์ตและการแข่งขันแรลลี่โลก World Rally Championship (WRC) ซึ่งมักจะประสบกับชัยชนะเกือบทุกครั้ง จากความสำเร็จดังกล่าว จึงถูกนำพัฒนาและถ่ายทอดในรถยนต์ของนักขับรถ
ย้อนหลังไปต้นทศวรรษที่ 1970 ตัวแข่งแรลลี่โลกของมิตซูบิชิถูกพัฒนามาจาก โคลต์ กาแลนท์ 16L จากนั้นเข้าสู่ยุคของแลนเซอร์รุ่นแรก 1600 GSR ตามด้วยแลนเซอร์รุ่นกล่องไม้ขีด ที่ได้รับความนิยมจากนักแข่งและทีมแข่งต่างๆ ตลอดปี 1981 ? 1982 รวมทั้งสปอร์ตคูเป้รุ่นสตาร์เรียน กระทั่งเข้าสู่ยุคของกาแลนท์ VR-4 ซึ่งถือเป็นยุคทองของมิตซูบิชิ จนเมืองไทยนิยมนำเข้ามาเพื่อแข่งขันแต่เมื่อมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ตันสินใจขยายตลาดโดยเน้นรถซีดานขนาดกลางอย่างจริงจัง ด้วยการเปิดตัวกาแลนท์ อัลติมาซึ่งมีขนาดตัวถังใหญ่เกินไปจึงไม่เหมาะกับการแข่งขัน ดังนั้นทีมมอเตอร์สปอร์ตจึงพัฒนาตัวแข่ง ใหม่ในนาม อีโวลูชั่น ในขณะเดียวกันสมาพันธ์ FIA กำหนดรถยนต์ที่เข้าแข่งขันกรุ๊ป A ต้องผลิตออกขายอย่างน้อย 2,500 คัน/ปี มิตซูบิชิจึงต้องผลิตอีโวชั่นทำตลาดจริงให้ถึงจำนวนที่กำหนดดังกล่าว นับเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง เพราะแลนเซอร์ อีโวลูชั่นสามารถกวาดชัยชนะจากสนามแข่ง WRC นับไม่ถ้วน ทั้งยังคว้าแชมป์แรลลี่โลกสะสมเก็บคะแนนในปี 1998 มาครองได้สำเร็จ
EVOLUTION I
7 กันยายน 1992
จำกัดจำนวนผลิต 2,500 คัน
ถูกพัฒนาบนพื้นฐานแลนเซอร์รุ่น อี-คาร์ มีให้เลือกทั้งรุ่น RS สำหรับลูกค้าที่ต้องการรถสภาพเดิมไปโมดิฟายเพื่อลงแข่งในสนามและรุ่น GSR สำหรับลูกค้าทั่วไป ด้วยความยาวตัวถัง 4,310 มิลลิเมตร กว้าง 1,695 มิลลิเมตร สูง 1,395 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อยาว 2,500 มิลลิเมตร น้ำหนักตัว 1,240 กิโลกรัม ขุมพลัง 4G63 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว พร้อมเทอร์โบและอินเตอร์คูลเลอร์ ให้กำลังสูงสุด 250 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 31.5 กก.-ม. ที่ 3,000 รอบ/นาที ส่งกำลังด้วยเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ ลงสู่ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ คู่หน้าแบบมีรูระบายความร้อน
EVOLUTION II
22 ธันวาคม 1993
จำกัดจำนวนผลิต 5,000 คัน
ดูเหมือนไม่มีการปรับโฉมใหม่ใด ๆ แต่ความจริงแล้วมีหลายจุดที่ อีโวลูชั่น II แตกต่างจาก อีโวลูชั่น I เช่นเครื่องยนต์ที่มีการเพิ่มแรงดันบูสเตอร์เทอร์โบ ระยะวาล์ว เป็นต้น รีดแรงม้าเป็น 260 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ / นาที แรงบิดสูงสุด 31.5 กก.-ม. ที่ 3,000 รอบ / นาที ปรับปรุงระบบกันสะเทือนเพียงเล็กน้อย
EVOLUTION III
27 มกราคม 1995
จำกัดจำนวนผลิต 5,000 คัน
การปรับปรุงเน้นไปที่การเปลี่ยนมาใช้ชุดแอโรพาร์ท รวมทั้งสปอยเลอร์รอบคันใหม่ทั้งหมดให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อเพิ่มแรงกดและลดค่าสัมประสิทธิ์ต้านทานอากาศ (แอโรไดนามิก) ลง ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มเป็น 1,260 กิโลกรัม ยังใช้ตัวถัวรวมทั้งช่วงล่างและระบบกำลังส่งเดิม แรงม้าอยู่ที่ 270 แรงม้า (PS) ที่ 6,250 รอบ / นาที โดยคงแรงบิดสูงสุดเท่าอีโวลูชั่น II ระบบกันสะเทือนถูกปรับปรุงให้ตอบสนองได้เฉียบคมยิ่งขึ้น จนทำให้อีโวลูชั่น III แรงสุดและหนักสุด แต่มีสมรรถนะดีที่สุดในกลุ่มอีโวลูชั่นที่ใช้พื้นฐานแลนเซอร์รุ่นอี ? คาร์
EVOLUTION IV
30 กรกฎาคม 1996
จำกัดจำนวนผลิต 6,000 คัน
มีการเปลี่ยนแปลงตัวถังเป็นครั้งแรก มาใช้พื้นฐานเดียวกับแลนเซอร์ เอ็มจี ตัวถัวยาว 4,330 มิลลิเมตร กว้าง 1,415 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อยาว 2,510 มิลลิเมตร และน้ำหนักตัว 1,350 กิโลกรัม เป็นรุ่นแรกที่ติดตั้งพวงมาลัย 3 ก้านทรงสปอร์ตพร้อมถุงลมนิรภัย ขุมพลังยังยืนหยัดกับรหัส 4G63 แต่อัพเกรดสมรรถนะ 280 แรงม้า (PS) ที่ 6,500 รอบ / นาที แรงบิดสูงสุด 36.0 กก.-ม. ที่ 3,000 รอบ / นาที เป็นอีโวลูชั่นรุ่นแรกที่ย้ายตำแหน่งเครื่องยนต์มาติดตั้งเยื้องอยู่ฝั่งเดียวกับคนขัยเชื่อมการทำงานกับเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะแบบ Shift ? Short Stroke และถือเป็นรถยนต์รุ่นแรกในโลกที่ติดตั้งระบบควบคุมแรงบิดล้อหลัง AYC (Active Yaw Control) ใกล้เฟืองท้ายเพื่อให้เข้าโค้งได้ฉับไวและทรงตัวดีเมื่อเบรกกะทันหัน
EVOLUTION V
มกราคม 1998
จำกัดจำนวนผลิต 6,000 คัน
ปรับโฉมให้เหมือนกับรุ่นไมเนอร์เชนจ์ของตระกูลแลนเซอร์ เพิ่มช่องรับอากาศขนาดใหญ่เพื่อระบายความร้อนในเครื่องยนต์ ขนาดตัวถัง 4,350 มิลลิเมตร กว้าง 1,770 มิลลิเมตร สูง 1,415 มิลลิเมตร ฐานล้อยาว 2,510 มิลลิเมตร น้ำหนักตัว 1,360 กิโลกรัม เครื่องยนต์บล็อกเดิม แต่เพิ่มแรงบิดสูงสุดเป็น 38.0 กก.-ม. ที่ 3,000 รอบ / นาที
EVOLUTION VI
7 มกราคม 1999
จำกัดจำนวนผลิต 7,000 คัน
เน้นปรับปรุงชุดแอร์โรพาร์ท และระบบหล่อเย็นให้ตรงข้อกำหนดใหม่ของ FIA และปรับปรุงสปอยเลอร์หลังโดยใช้พื้นฐานรูปทรงเดิมแต่ฐานล่างทรงสามเหลี่ยมนูนเจาะ โล่งเพื่อประสิทธิภาพในการกดตัวถังขณะแล่นด้วยความเร็วสูง ปรับปรุงระบบกันสะเทือนให้ยึดเกาะถนนดีขึ้น ปรับปรุงการทำงานของระบบ AYC ให้แม่นยำยิ่งขึ้นระบบอัดอากาศเทอร์โบ เปลี่ยนแกนเทอร์ไบน์มาใช้ไททาเนี่ยมเป็นครั้งแรกในโลก EVOLUTION VI TOMMY MAKINEN LIMTED
10 ธันวาคม 1999
จำกัดจำนวนผลิต 2,500 คัน
มิตซูซูบิชิสร้างอีโวลูชั่น VI เวอร์ชั่นพิเศษเพื่อเป็นที่ระลึกแก่ทอมมี่ มาคิเนน อดีตนักแข่งทีมมิตซูบิชิ แรลลี่อาร์ต ซึ่งแตกต่างจากอีโวลูชั่น VI เล็กน้อย ยึดการตกแต่งด้วยโทนสีแดง ออกแบบชุดแอโรพาร์ทใหม่ทั้งหมด ลดความสูงของตัวถังจรดพื้นถนนจากรุ่นเดิมลงไปอีก 10 มิลลิเมตร ถังน้ำมันพร้อมฝาปิดแบบใหม่ป้องกันการกระฉอกขณะเข้าโค้งต่างระดับด้วยความเร็วสูง ขุมพลังมีแรงม้าเท่าเดิม แต่ลดลงมาอยู่ที่ 38.0 กม.-ม.ที่ 2,750 รอบ / นาที